วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ระบบสาธารณูปโภค

 โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค

  • เนื่องจากประเทศบรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวย จึงมีการพัฒนาระบบ การขนส่งที่ดีชาวท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวในประเทศบรูไนมีตัวเลือกใน การใช้บริการได้หลายทาง อันได้แก่ 

  • การคมนาคมทางบก ประเทศบรูไนมีทางหลวงสายหลักสายเดียวคือ Muara–Jerudong– Tutong มีความยาวประมาณ 1,712 กิโลเมตร การให้บริการรถเช่าใน ประเทศบรูไนมีราคาที่เหมาะสม รถเช่าเป็นบริการการขนส่งที่ดีที่สุดใน ประเทศบรูไน เนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงสะดวกและสามารถใช้บริการได้ ตลอดเวลา

  • การคมนาคมทางอากาศ การขนส่งทางอากาศเชิงพาณิชย์ในบรูไนเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2496 (ค.ศ1953) และสร้างสนามบินใหม่ในเมือง Mukim Berakas และเปิด ใช้งานในปีพ.ศ.2517(ค.ศ.1974) ปัจจุบันประเทศบรูไนมีสายการบิน พาณิชย์คือ สายการบินรอยัลบรูไน ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติบรูไน ก่อตั้งเมื่อวันที่18 พฤศจิกายน พ.ศ.2517(ค.ศ.1974) โดยบริษัทเอกชน จะเป็นผู้ถือหุ้นเองทั้งหมด สายการบินรอยัลบรูไน มีเที่ยวบินตรงจากการคมนาคมทางอากาศ การขนส่งทางอากาศเชิงพาณิชย์ในบรูไนเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2496 (ค.ศ1953) และสร้างสนามบินใหม่ในเมือง Mukim Berakas และเปิด ใช้งานในปีพ.ศ.2517(ค.ศ.1974) ปัจจุบันประเทศบรูไนมีสายการบิน พาณิชย์คือ สายการบินรอยัลบรูไน ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติบรูไน ก่อตั้งเมื่อวันที่18 พฤศจิกายน พ.ศ.2517(ค.ศ.1974) โดยบริษัทเอกชน จะเป็นผู้ถือหุ้นเองทั้งหมด สายการบินรอยัลบรูไน มีเที่ยวบินตรงจาก



  • การคมนาคมทางน้ำ ประเทศบรูไนมีท่าเรือที่ขนถ่ายสินค้าอยู่ทั้งหมด6แห่ง โดยแบ่งเป็น ของภาครัฐ 3 แห่ง และภาคเอกชน 3 แห่ง ท่าเรือทั้ง 3 ท่าที่เป็นของ รัฐบาลบรูไน ได้แก่




    1.  ท่าเรือมัวรา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากเมืองหลวง 27 กิโลเมตร เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีความลึก 10 เมตร กว้าง 611 เมตร สามารถนำเรือขนาดใหญ่เข้าเทียบท่าได้ 
    2. ท่าเรือบันดาร์เสรีเบกาวัน เป็นท่าเรือเก่าแก่ ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รับเฉพาะเรือที่มี ความยาวไม่เกิน 30 เมตร และมีความลึกไม่เกิน 5 เมตร
    3. ท่าเรือกัวลาบือเลต ตั้งอยู่ที่แม่น้ำบือเลต รับเฉพาะเรือที่มีความยาว 60 เมตร เพราะ ท่าเรือยาว61เมตรโดยมากเรือที่เข้าเทียบท่ามักจะเป็นเรือจากประเทศ เพื่อนบ้าน ส่วนท่าเรือเอกชนของบรูไนอีก3แห่ง ได้แก่ ท่าเรือซีเรีย ท่าเรือลูมูต และท่าเรือตันหยงลีรัง โดยท่าเรือเอกชนสองแห่งแรกมีบริษัทเชลล์บรูไน เป็นผู้ดูแล ใช้ในการขนส่งสินค้าประเภทแก๊สธรรมชาติและน้ำมัน ส่วนท่าเรือตันหยงลีรังเป็นท่าเรือเพื่อใช้ในการส่งออกไม้ซุง
  • ระบบไฟฟ้า หน่วยงานที่ดูแลกิจการไฟฟ้าของประเทศบรูไนชื่อว่าแผนกบริการ ไฟฟ้า (Department of Electrical Services-DES) เป็นหน่วยงานที่ อยู ่ภายใต้กระทรวงพลังงาน ดูแลตั้งแต ่ระบบผลิต ระบบส่ง ระบบ จำหน่ายจนถึงลูกค้า ในลักษณะคล้ายกับการไฟฟ้าโดยทั่วไปในอาเซียน ก่อตั้งมาแล้ว 92 ปีเริ่มต้นด้วยการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลขนาด 22กิโลวัตต์สำหรับการจ่ายไฟครั้งแรกและกระแสไฟฟ้าบรูไนในปัจจุบัน คือ 240 โวลต์ 


  • ระบบโทรคมนาคม ประเทศบรูไนมีฝ่ายดูแลงานด้านโทรคมนาคม(Telecoms) ที่รับ ผิดชอบทั้งระบบการทำงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและระหว่าง ประเทศ ระบบโทรคมนาคมในที่นี้รวมถึงโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์ระหว่าง ประเทศ โทรสาร เทเล็กซ์ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ เพจเจอร์ โทรเลข และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์บ้านทั้งหมดในประเทศ บรูไนใช้ระบบโทรศัพท์แบบดิจิตอล


1 ความคิดเห็น: