ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรูไนเมื่อวันที่ 1 มกราคม
พ.ศ.2527(ค.ศ.1984) ซึ่งทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาโดยตลอด โดยเฉพาะในระดับราชวงศ์มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับราชวงศ์ผู้นำระดับสูง
ของรัฐบาล และผู้นำระดับสูงของกองทัพอยู่เสมอ
ทั้งสองประเทศยังมี
ทัศนคติที่ดีต่อกัน ไม่เคยมีความบาดหมางทางประวัติศาสตร์และเป็น
พันธมิตรในเรื่องต่างๆ มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่าง
ทั้งสองประเทศในด้านต่างๆ
- การทหาร
- การค้า
- การลงทุน
- การประมง
- แรงงาน
- การท่องเที่ยว
- วัฒนธรรม
โดยไทยประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวให้บรูไนให้ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรม
อาหารฮาลาล และร่วมมือกันจัดตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยขึ้น
เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2546 มีการจัดตั้งกองทุนร่วม (Matching
Fund) “กองทุนไทยทวีทุน” ระหว่าง Brunei Investment Agency
กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มีบริษัทไทยที่ลงทุนในบรูไน คือ บริษัท Brunei Construction ซึ่ง
เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ถือหุ้นระหว่างชาวไทยกับชาวบรูไนตาม
กฎหมายบรูไนที่กำหนดการทำกิจการต่างๆ จะต้องมีชาวบรูไนเป็นหุ้น
ส่วนอยู่ด้วยสำหรับธุรกิจไทยในบรูไน ส่วนใหญ่จะเป็นร้านขายของร้าน
อาหาร ร้านตัดเสื้อ และอู่ซ่อมรถ ระบบบริหารราชการของเนการา บรูไน ดารุสซาลาม
ปัจจุบันมีแรงงานไทยในบรูไนมีประมาณ 8,000 คน (พ.ศ. 2550)
โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ทำงานในกิจการก่อสร้างอุตสาหกรรม
ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก นอกนั้นทำงานในภาคธุรกิจ
บริการ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร การตกแต่งดูแลสวน ช่างซ่อม
และงานในภาคเกษตรกรรมแรงงานไทยส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับอย่าง
ดีจากนักธุรกิจในบรูไน เพราะมีความซื่อสัตย์อดทน ขยัน หมั่นเพียร
และมีความรับผิดชอบ แม้จะด้อยในเรื่องภาษา อย่างไรก็ดียังมีปัญหาอยู่
บ้าง โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอาทิ
อัตราค่าจ้างที่ไม่สอดคล้องกับความสามารถในการทำงาน และการขาด
ความรู้และความเข้าใจต่อกฎระเบียบข้อบังคับของสัญญาจ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น